สิ่งที่ควรรู้ก่อนการซื้อขายที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ คือ เอกสารสิทธิ์ที่ดิน ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท ตามสิทธิในที่ดิน ได้แก่ 1. ประเภทที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ เช่น โฉนดที่ดิน (ประเภท น.ส.4 ทั้งหลาย) 2. ประเภทที่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินเป็นสิทธิครอบครอง เช่น หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (ประเภท น.ส.3 ทั้งหลาย), แบบแจ้งการครอบครอง (ส.ค.1), ใบจอง (น.ส.2), ใบไต่สวน (น.ส.5) และเอกสารสิทธิ์สิทธิครอบครองตามกฎหมายอื่น Post Views: 1,516
การขุดดินและถมดิน ทำอย่างไรให้ถูกกฎหมาย
Posted on December 20, 2021August 14, 2022Categories การก่อสร้าง, ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์การขุดดินและถมดินเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่เราคิด ที่ดินซึ่งติดกับบ้านที่เราอาศัยอยู่อาจมีคนเอาดินมาถมปรับระดับเพื่อก่อสร้างหรือขึ้นโครงการจัดสรร หรืออาจขุดดินเพื่อทำชั้นใต้ดินของอาคารหรือเพื่อเอาหน้าดินไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น หรือแม้แต่ผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินและนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้งหลายที่อยากจะขุดดินหรือถมดินในที่ดินของตนเอง ต้องรู้ถึงกฎระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการขุดดินและถมดิน โดยกฎหมายหลักคือ พระราชบัญญัติการขุดดินและถมดิน พ.ศ.2543 Post Views: 1,192
ผู้ซื้ออาคารที่ต่อเติมดัดแปลงไม่ถูกต้อง โดนบังคับตามกฎหมายควบคุมอาคารได้
Posted on December 1, 2021August 14, 2022Categories การก่อสร้าง, ควบคุมอาคาร, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์4การดัดแปลงหรือต่อเติมอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 บัญญัติไว้ให้กระทำได้เมื่อได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา 39 ทวิ ยกเว้นกรณีการดัดแปลงหรือต่อเติมอาคารตามที่กำหนดไว้ใน กฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ.2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ซึ่งเป็นการดัดแปลงอาคารที่มีลัษณะเป็นการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยและไม่มีผลกระทบต่อความปลอยภัยของอาคาร Post Views: 429
การเปิดเข้าใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
Posted on November 21, 2021August 14, 2022Categories การก่อสร้าง, ควบคุมอาคาร, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อาคารประเภทควบคุมการใช้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มีบทบัญญัติอันเป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับการเข้าใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ภายหลังได้รับใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร หรือแจ้งตามมาตรา 39ทวิ และมีดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารแล้วเสร็จ โดยจะต้องแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบเพื่อทำการตรวจสอบการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ว่าเป็นไปตามที่ได้รับใบอนุญาตหรือที่ได้แจ้งไว้ตามมาตรา 39ทวิ หรือไม่ Post Views: 538
การรังวัด การระวังแนวเขตรังวัดและการคัดค้านการรังวัดแนวเขตที่ดิน
Posted on November 1, 2021August 14, 2022Categories ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง, ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผู้มีสิทธิในที่ดินที่มีความประสงค์จะขอตรวจสอบแนวเขตที่ดินตามโฉนดที่ดินของตนเอง สามารถยื่นคำขอพร้อมด้วยโฉนดที่ดินที่ต้องการสอบแนวเขตที่ดินต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อให้ดำเนินการรังวัดสอบแนวเขตที่ดินของตนเองได้ ในการรังวัดสอบแนวเขตที่ดินนั้น หากปรากฎว่าการครอบครองที่ดินไม่ตรงกับแผนที่หรือเนื้อที่ในโฉนดที่ดิน เมื่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรับรองแนวเขตแล้ว เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจแก้ไขแผนที่หรือเนื้อที่ให้ตรงกับความเป็นจริงได้ ยกเว้นกรณีที่เป็นการสมยอมกันของเจ้าของที่ดินทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมาย แต่โดยทั่วไปแล้วหากเจ้าของที่ดินข้างเคียงเสียประโยชน์ เช่น การรังวัดแนวเขตเข้ามาในพื้นที่ซึ่งตนเองทำประโยชน์ เจ้าของที่ดินข้างเคียงคงไม่ยินยอมและรับรองแนวเขตตามที่รังวัด และอาจมีการคัดค้านการรังวัดแนวเขตที่ดินดังกล่าว Post Views: 2,411